‘กรุงไทย’ เตรียมเก็บค่าธรรมเนียม ‘ถอนเงินไม่ใช้บัตร’ ครั้งละ 10 บาท

‘กรุงไทย’ เตรียมเก็บค่าธรรมเนียม ‘ถอนเงินไม่ใช้บัตร’ ครั้งละ 10 บาท

ธุรกิจ

ธนาคารกรุงไทย แจ้งประกาศบนแอปพลิเคชั่น Krungthai Next และเว็บไซต์ของธนาคาร ระบุว่าจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการถอนเงินสดแบบไม่ใช้บัตร (Cardless ATM Withdrawal) ครั้งละ 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายผ่านช่องทางดิจิทัล ลดการใช้เงินสด อย่างไรก็ตาม ธนาคารกรุงไทยได้จัดโปรโมชั่น ยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว 1 ครั้งต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 – 31 กรกฎาคม 2566

แนะนำข่าวธุรกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย :  ‘ไทยออยล์’ ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ทุ่มงบ 3 ปี 3.5 หมื่นล้าน ดันกำไรธุรกิจใหม่

‘ไทยออยล์’ ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ทุ่มงบ 3 ปี 3.5 หมื่นล้าน ดันกำไรธุรกิจใหม่

‘ไทยออยล์’ ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ทุ่มงบ 3 ปี 3.5 หมื่นล้าน ดันกำไรธุรกิจใหม่

“บัณฑิต” ซีอีโอใหม่ “ไทยออยล์” ยันทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ปิโตรเคมีมูลค่าสูง-พลังงานสะอาด มุ่ง Net Zero หวังรัฐบาลใหม่คงนโยบายพลังงานต่อเนื่อง ห่วงปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์-ศก.โลกกระทบราคาน้ำมัน ตั้ง 3ปี งบลงทุน 1,000 ล้านดอลลาร์

นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไทยออยล์ตั้งเป้างบลงทุน 3 ปี (2566-2568) ที่ 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท โดย 500 ล้านดอลลาร์ จะลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด ซึ่งการจะลงทุนด้านอื่น ๆ จะต้องดูเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังไม่แน่นอน ที่เกิดจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือแม้แต่เงินเฟ้อ การลงทุนจะต้องดูภาพที่ชัดเจนของสถานการณ์

ธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม ปีนี้จะลงทุนราว 20,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด หรือ Clean Fuel Project (CFP) โดยตั้งเป้าจะให้หน่วยผลิตน้ำมันตามมาตรฐานยูโร 5 แล้วเสร็จก่อนภายในไตรมาส 1 ปี2567 เพื่อผลิตน้ำมันเพิ่มเป็น 4 แสนบาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.7 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยจะเป็นการกลั่นน้ำมันดีเซล และน้ำมันเครื่องบิน (Jet) เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ค่าการกลั่น (GRM) จากปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 4-5 ดอลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นเท่าตัว จากการกลั่นน้ำมันที่มีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการ คือ สานต่อการทรานส์ฟอร์มธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ตามยุทธศาสตร์หลัก 3V คือ 1. Value Maximization ต่อยอดธุรกิจปิโตรเลียมสู่ธุรกิจปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง 2. Value Enhancement เสริมความแข็งแกร่งในประเทศ ขยายตลาดและกระจายผลิตภัณฑ์ไปสู่ต่างประเทศในระดับภูมิภาค รองรับการเติบโตของธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ในอนาคต และ 3. Value Diversification ลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีมูลค่าสูง และ ธุรกิจ New S-Curve อื่นๆ สอดคล้องต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโลก

ขยายตลาดพลังงานสะอาด

“เป้าหมายหลักของไทยออยล์ในปีนี้ จะเป็นการเร่งดำเนินโครงการ CFP ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการขยายตลาดไปต่างประเทศในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะ ประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย พร้อมทั้งเร่งศึกษาในการต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และแสวงหาโอกาสเข้าสู่ธุรกิจที่มีมูลค่าสูง”

นายบัณฑิต กล่าวว่า จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) การเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมพลังงานไปสู่การใช้พลังงานสะอาด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ไทยออยล์ จึงได้ปรับเป้าหมาย ธุรกิจของกลุ่มในปี 2573 โดยสัดส่วนกำไรจากธุรกิจปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ 40% ธุรกิจปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ต่อยอดจากปิโตรเคมี 30% ธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและธุรกิจใหม่ๆ 25% และธุรกิจไฟฟ้า 5%

อย่างไรก็ตาม มองว่าราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงมีความผันผวน จากปัจจัย 1. จีนเปิดประเทศซึ่งมีความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น 2. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งสหรัฐ จีน รัสเซีย หรือ ยูเครน ที่กระทบต่อการกีดกันการค้าขายน้ำมันและมีการขายข้ามทวีป 3.เศรษฐกิจ ซึ่งยากต่อการทำนาย ซึ่งดูเหมือนจะดีขึ้น แต่ธนาคารกลางของประเทศสหรัฐ (เฟด) ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น มีผลต่อการใช้จ่าย แต่ปีนี้ยังคงเติบโตกว่าปีที่แล้ว

“แนวโน้มธุรกิจน้ำมันในปี 2566 จะเติบโตได้ดี จากความต้องการใช้น้ำมันทุกประเภทปรับสูงขึ้น ตามทิศทางความต้องการใช้น้ำมันของโลกที่ปรับสูงขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว โดยคาดว่า น้ำมันสำเร็จรูปในปีนี้ จะเติบโต 4-5%และน้ำมันอากาศยาน เติบโตขึ้น 50% เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา”

ฝากการบ้านรัฐบาลใหม่

นายบัณฑิต กล่าวว่า สิ่งที่อยากจะฝากรัฐบาลใหม่ คือ นโยบายด้านพลังงานต้องต่อเนื่อง เช่นในอดีตเคยมีนโยบายให้จำหน่ายน้ำมันกลุ่มเอทานอลและไบโอดีเซลหลายชนิด ทั้งแก๊สโซฮอล์ E85 ,E20,E10 รวมถึงน้ำมันไบโอดีเซลทั้ง B7 และ B20 แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลก็มีการกำหนดนโยบายใหม่ ไม่เน้นน้ำมันโซฮอล์E85 เหลือเพียง แก๊สโซฮอล์ E10 และดีเซลเหลือเพียง B7-B10 เป็นต้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการลงทุนของอุตสาหกรรมน้ำมัน

นอกจากนี้ ปัจจุบันรัฐบาลมีแผนส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าตามนโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 ซึ่งขณะนี้ อัตราการเติบโตอีวีสูง นโยบายต้องต่อเนื่องเพื่อให้ประชากรเข้าถึงราคาที่เหมาะสม ซึ่งต้องคุยกับผู้ประกอบการให้เยอะ เพื่อเดินไปด้วยกัน ดังนั้น ไม่ว่ารัฐบาลจะไหนมา สิ่งสำคัญคือความต่อเนื่องของนโยบาย

ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ TOP for The Great Futureโดยคำว่า “TOP” มาจาก T – Transformation ทรานสฟอร์มธุรกิจในทุกมิติ ให้มั่นใจว่า องค์กรพร้อมขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายใหม่ สร้างธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ให้เติบโตอย่างยั่งยืนรวมถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ให้องค์กรขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

O – Operational to Business Excellence ยกระดับการทำงานปัจจุบันจาก Operational Excellence ไปสู่ Business Excellence สร้างองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยระบบงานระดับ World Class ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและทีมงานมืออาชีพ และ P – Partnership & Platform สร้างการเติบโตด้วยแนวทางความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการขยายธุรกิจในอนาคต

“สิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero คือนวัตกรรมจากเทคโนโลยีไฮโดรเจน, การนำเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน(CCUS) ถือเป็นการตอบโจทย์เมกะเทรนด์เพื่อลดความผันผวนและไปสู่ธุรกิจปลดปล่อยคาร์บอนได้น้อยลงจนกปัจจุบัน ตอบโจทย์นโยบาย BCG ของรัฐบาล”

ติดตามข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ : OR เปิดทิศทางการดำเนินธุรกิจ ปี 2566 มุ่งขยายธุรกิจไลฟ์สไตล์

OR เปิดทิศทางการดำเนินธุรกิจ ปี 2566 มุ่งขยายธุรกิจไลฟ์สไตล์

OR เปิดทิศทางการดำเนินธุรกิจ ปี 2566 มุ่งขยายธุรกิจไลฟ์สไตล์ เสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเดิม พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR พร้อมด้วย นายสุชาติ ระมาศ ผู้อำนวยการใหญ่ OR และ นางสาววิไลวรรณ กาญจนกันติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารการเงิน OR ร่วมแถลงผลการดำเนินงานปี 2565 และทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2566 มุ่งประสานธุรกิจพลังงานและไลฟ์สไตล์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศของ OR ผ่านการเสริมความเข้มแข็งของแต่ละธุรกิจให้สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตแห่งอนาคต รวมถึงผนึกกำลังทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม ปตท. พร้อมเปิดประตูความร่วมมือสู่การเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน

ธุรกิจ

นายดิษทัต เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวทำให้ ปี 2565 ภาพรวมปริมาณขายปรับเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจ ส่งผลให้ OR มีรายได้ขายและบริการเพิ่มขึ้น 54.3% และยังคงรักษาความเป็นผู้นำในตลาด โดยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 43.2% และได้ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า “EV Station PluZ” แล้วทั้งสิ้นจำนวน 302 แห่ง (หรือ 909 หัวชาร์จ) และได้ร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายในการขยายเครือข่าย EV Station PluZ ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำในระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) นอกจากนี้ ยังได้ส่งมอบโอกาสผ่านการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสร้างรายได้ให้แก่ผู้ด้อยโอกาสครอบคลุมกลุ่มผู้สูงวัย ผู้บกพร่องทางการได้ยินและการเรียนรู้ ให้มีรายได้จากการทำงานเป็นบาริสต้า ผ่านร้าน Cafe Amazon for Chance แล้วกว่า 137 คน การจัดโครงการพื้นที่ปันสุขและตลาดเติมสุข ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรและชุมชนให้สามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายในพื้นที่สถานีบริการ PTT Station ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอดจนการรับซื้อผลผลิตการเกษตรที่ล้นตลาดเพื่อมาจัดกิจกรรมให้กับลูกค้าที่เติมน้ำมัน ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนจากการขายสินค้ามากกว่า 15.6 ล้านบาท เป็นต้น

สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2566 OR มุ่งมั่นสานต่อและผลักดันวิสัยทัศน์ “Empowering All toward Inclusive Growth” ให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้เตรียมงบลงทุนจำนวน 31,197 ล้านบาท มุ่งเน้นการขยายและสร้างความแข็งแกร่งของ Business Value Chain ของ กลุ่มธุรกิจ Lifestyle โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 14,193 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 45% ของงบลงทุน สำหรับขยายสาขาร้าน Cafe Amazon และร้าน Texas Chicken รวมไปถึงการแสวงหาพันธมิตรและการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ โดยนอกจากธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) แล้ว OR ยังให้ความสำคัญในกลุ่มธุรกิจด้าน Health & Wellness และ Tourism ด้าน กลุ่มธุรกิจ Mobility มุ่งรักษาความเป็นผู้นำใน Mobility Ecosystem ทั้งในแง่การขยายสาขา PTT Station และ EV Station PluZ รวมถึงการผลักดันให้เกิดความร่วมมือในธุรกิจ EV ของกลุ่ม ปตท. อย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการลงทุนใน Green Energy เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของแหล่งพลังงาน ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะต้องการพลังงานชนิดใดสำหรับการเดินทาง เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานเป็นไปอย่างไร้รอยต่อ โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 6,799 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 22% ของงบลงทุน

สำหรับ กลุ่มธุรกิจ Global ยังคงมุ่งขยายการลงทุนในการเปิด PTT Station และ Cafe Amazon ผ่านบริษัทในเครือในต่างประเทศ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในประเทศที่ OR ได้เข้าไปดำเนินการแล้ว พร้อมแสวงหาโอกาสในการลงทุนในประเทศใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 4,954 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 16% ของงบลงทุน ส่วน กลุ่มธุรกิจ OR Innovation มุ่งแสวงหาธุรกิจใหม่เพื่อต่อยอดธุรกิจในปัจจุบัน โดยกำหนดหลักเกณฑ์ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างนวัตกรรมในแบบฉบับของ OR เพื่อเป็นต้นแบบขององค์กรสมัยใหม่ และทำให้ OR เติบโตไปพร้อมกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในนวัตกรรมเพื่อพัฒนาโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 5,251 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 17% ของงบลงทุน

ทั้งนี้ OR ยังให้ความสำคัญกับสร้างอนาคตที่ยั่งยืนผ่าน SDG ในแบบฉบับของ OR เพื่อตอบโจทย์เป้าหมาย OR 2030 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย S – SMALL โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก D – DIVERSIFIED โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ และ G – GREEN โอกาสเพื่อสังคมสะอาด โดยล่าสุด OR ได้รับการคัดเลือกจาก S&P Global ให้อยู่ในทำเนียบธุรกิจที่มีความยั่งยืน “The Sustainability Yearbook 2023” กลุ่มธุรกิจ Retailing ภายหลังจาก OR เข้าร่วมประเมินความยั่งยืนในระดับสากลในปีแรกที่เข้าร่วม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินงานด้านความยั่งยืนทั้ง 3 มิติ ของ OR ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม มิติเศรษฐกิจและการกำกับดูแลกิจการ สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินระดับสากลของ DJSI (Dow Jones Sustainability Indices)

ติดตามข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ : AIS เปิดตัว E-Waste+ แอปกระตุ้นให้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกที่ อนาคตจะนำคะแนนการทิ้งมาแลกเป็น พอยต์ได้

AIS เปิดตัว E-Waste+ แอปกระตุ้นให้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกที่ อนาคตจะนำคะแนนการทิ้งมาแลกเป็น พอยต์ได้

ตั้งแต่ปี 2019 หรือราว 4 ปีแล้วที่ AIS เปิดตัวโครงการตั้งจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็กตาม AIS Shop สาขาต่างๆ รวมถึงห้างสรรพสินค้า และ AIS ก็จะนำขยะไปกำจัดอย่างถูกวิธี เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ควรแยกและนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง

ซึ่ง 4 ปีที่ผ่านมา AIS สามารถรวมรวมขยะได้เกือบ 4 แสนชิ้น ผ่านจุดรับทิ้ง 2,484 จุด แต่ยังมีขยะอิเล็กทรอนิกส์อีก 4 แสนตันต่อปีในไทย ที่ติดตามได้ยากว่าขยะไปอยู่ที่ไหน ได้รับการกำจัดและแยกชิ้นส่วนอย่างถูกวิธีหรือไม่

ข่าวธุรกิจอัพเดต

ล่าสุด AIS ต่อยอดด้วยการเปิดตัวแอปพลิเคชั่น E-Waste+ แอปช่วยกระตุ้นให้คนอยากนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งให้ถูกวิธี ติดตามสถานะของขยะได้บนบล็อกเชน โดยระบบคำนวณขยะและปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกที่เราทำได้ จากนั้นก็จะแปลงเป็น Carbon Scores สามารถแชร์ในโซเชียลได้ด้วย

ขยายความอีกนิดคือ E-Waste+ ช่วยให้เห็นการเดินทางของขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่ ผู้ทิ้งขยะ (Customers) ผู้รับขยะ (Drop Point Agents) การขนส่ง ไปจนถึงปลายทางโรงงานจัดการขยะ เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ตามมาตรฐานแบบ Zero Landfill

Zero Landfill คือการฝังกลบเป็นศูนย์ หรือการที่เราสามารถนำทุกชิ้นส่วนของขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ต่อได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องฝังกลบเลย ซึ่งต้องมีโรงงานและผู้เชี่ยวชาญในการคัดแยก เพราะการฝังกลบมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดสารเคมีปนเปื้อนในหน้าดิน และซึมลงในแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก

วิธีการทำงานของแอปพลิเคชั่นคือ เราสามารถค้นหาจุดรับทิ้งได้ (ตอนนี้ยังมีจำนวนจำกัดแต่ AIS ระบุว่าจะพยายามขยายให้มากขึ้นในอนาคต) เมื่อเจอจุดรับทิ้งแล้วก็แสดง QR Code ในแอป หรือแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ จากนั้นรอรับ Carbon Scores เมื่อขยะได้รับการคัดแยกถูกวิธี ซึ่งมองเห็นจากในแอปได้ตลอดกระบวนการ

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “จากสถานการณ์โลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต สิ่งที่ตามมาคือ อุปกรณ์ดิจิทัลมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นเราจึงทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะ E-Waste ในขณะเดียวกันก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดเก็บและทำลาย E-Wasteอย่างถูกวิธี ทั้งการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ตั้งจุดรับทิ้งและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล”

โดยเบื้องต้น AIS มีพาร์ทเนอร์ที่จะเข้ามาใช้แพลตฟอร์ม E-Waste+ แล้วคือ บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย

ด้าน นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS กล่าวเสริมว่า ในการพัฒนาแอปเฟสถัดไป จะสร้างแรงจูงใจให้คนทิ้งขยะให้ถูกวิธีมากขึ้น ผ่านการนำ Carbon Scores มาแลกเป็น AIS Point ได้ และในอนาคตอาจต่อยอดเป็น Carbon Credit ที่เป็นมาตรฐานกลาง ให้บุคคลและองค์กรสร้างรายได้ผ่านวิธีลดการใช้พลังงาน ซึ่งจะเป็น agenda สำคัญขององค์กรใหญ่ทั้งหมด ข่าวธุรกิจแนะนำ>>> เดอะมอลล์ เขย่าค้าปลีกเดือด ผนึก “ไทยเบฟ-ซีพี” พลิกโฉมย่านการค้าบางกะปิ

 

เดอะมอลล์ เขย่าค้าปลีกเดือด ผนึก “ไทยเบฟ-ซีพี” พลิกโฉมย่านการค้าบางกะปิ

เดอะมอลล์ กรุ๊ป กางแผนพัฒนาเมืองต่อจิ๊กซอว์โครงข่ายคมนาคม รถไฟฟ้า ดึงมวลชนเข้าพื้นที่มหาศาล อัดฉีด 6.7 หมื่นล้าน

ลุยพลิกโฉมศูนย์การค้าทำเลยุทธศาสตร์ บางกะปิ-บางแค เดินหน้าเมกะโปรเจกต์ แบงค็อกมอลล์-รามคำแหง พร้อมผนึก 2 เจ้าสัว “ไทยเบฟ-ซีพี” ยกระดับย่านการค้าบางกะปิ

หนึ่งในทุนค้าปลีกยักษ์ใหญ่สัญชาติไทย “เดอะมอลล์ กรุ๊ป” กับเส้นทางธุรกิจ 42 ปี ภายใต้แบรนด์ “เดอะมอลล์”  ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกการค้าสมัยใหม่ สูตรสำเร็จเดิมๆ อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป นำสู่การเคลื่อนยุทธศาสตร์ “Rebranding“ พลิกโฉม รีแบรนด์ครั้งใหญ่ จาก “เดอะมอลล์” สู่ “เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์” หลังส่งแฟลกชิพสโตร์งามวงศ์วานสร้างการตอบรับที่ดี

ธุรกิจส่วนตัว

ล่าสุดพร้อมยกเครื่อง 2 ทำเลยุทธศาสตร์  “เดอะมอลล์ บางกะปิ” และ “เดอะมอลล์ บางแค” ที่เปิดให้บริการมายาวนาน 30 ปี  พร้อมสร้างปรากฎการณ์เขย่าตลาดครั้งสำคัญด้วยการผนึกกำลังบิ๊กคอร์ปตระกูลเจ้าสัวใหญ่แห่งเมืองไทยอย่าง “ไทยเบฟ” และ “ซีพี” สร้างอาณาจักรย่านการค้าครบวงจร “บางกะปิ”

โดยย่านการค้าบางกะปิ ดังกล่าว ครอบคลุมอาณาเขตรวมกว่า 100 ไร่ จาก “เดอะมอลล์ บางกะปิ” ต่อเนื่อง “ตะวันนา บางกะปิ”  กิจการภายใต้ “แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น” หรือ AWC ในเครือ ทีซีซี กรุ๊ป ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี  ยาวไปถึง “แม็คโคร” และ “โลตัส” ธุรกิจค้าปลีกภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

เป็นการผนึกกำลังพัฒนาเมืองหรือย่านการค้าขนาดใหญ่ ตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางเวทีการค้าระดับโลกของประเทศไทย และยกระดับกรุงเทพฯ เทียบเท่ามหานครระดับโลก

ข่าวแนะนำ : “บทสรุป” จากงาน “SX 2022” ประเทศไทย “พร้อม” เดินหน้า

“บทสรุป” จากงาน “SX 2022” ประเทศไทย “พร้อม” เดินหน้า

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมแว่บไปเที่ยวงาน “SX 2022” หรืองาน “Sustainability Expo 2022”

มหกรรมการแสดงสินค้าและนวัตกรรมด้านการพัฒนา เพื่อความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มาเรียบร้อยแล้วครับได้พบกับความประทับใจอะไรหลายๆอย่างจากงานนี้ ขออนุญาตนำมาบันทึกไว้เพื่อเป็นเกียรติและขอบคุณคณะผู้จัดงานอีกครั้งในข่าวประชาสัมพันธ์มีอยู่ประโยคหนึ่งว่า งานนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ จีซี, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ปฯ, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (SCG) และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รวม 5 องค์กรหลักด้วยกัน

ธุรกิจ SX 2022

แต่เมื่อไปเดินในงานแล้วก็พบว่ากว่า 70 เปอร์เซ็นต์ น่าจะเป็นฝีมือและงบประมาณของ บริษัท ไทยเบฟฯ ผู้ได้รับโอกาสในการก่อสร้าง และขยายเพิ่มเติมศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งได้สิทธิในการบริหารต่อไปอีก 50 ปี จากสัญญาเดิม 25 ปีนั่นเองเพราะเกือบทุกจุดของงานจะมีผู้บริหารระดับสูงลงมาถึงเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆของไทยเบฟฯยืนดูแลและให้บริการเต็มไปหมด รวมทั้งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ คุณ ฐาปน สิริวัฒนภักดี ที่ไปยืนรับและตามส่ง พระเมธี วชิโรดม หรือท่าน ว.วชิรเมธี ที่มาเทศนาพิเศษเรื่องการ “บวชป่า” เมื่อช่วงบ่ายแก่ๆวันเสาร์ที่แล้วนั้นด้วย